ข้อมูลการรับเข้า TCAS 1 ปีการศึกษา 2568

ลำดับ โครงการ เกณฑ์การรับ จำนวนที่รับ
1 โครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.)
รหัส: แบบ 11

 ให้เลือกเรียนใน 14 สาขาวิชา คือ คณิตศาสตร์ , เคมี , ชีววิทยา , สัตววิทยา , ธรณีวิทยา, ฟิสิกส์ , ชีวเคมีและชีวเคมีนวัตกรรม , เคมีอุตสาหกรรม , จุลชีววิทยา , วัสดุศาสตร์ , วิทยาการคอมพิวเตอร์ , สถิติ , อัญมณีวิทยา , วิทยาการข้อมูล 

คุณสมบัติของผู้สมัคร
1 คุณสมบัติทั่วไป 
1) เป็นนักเรียนทุน พสวท. หรือนักเรียนโครงการห้องเรียน พสวท. (สู่ความเป็นเลิศ) หรือนักเรียนที่มีศักยภาพสูงในด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ในสถานศึกษาทั่วประเทศ ที่กาลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2567 
2) มีสัญชาติไทย
3) มีความขยันหมั่นเพียร มีความประพฤติดี มีบุคลิกภาพเหมาะสม และมีความตั้งใจที่จะทางานวิจัยเป็นนักวิทยาศาสตร์ ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประเทศ 
4) เป็นผู้ที่ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง หรือโรคสำคัญที่จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
5) มีความตั้งใจเข้ารับทุน พสวท. และรับรองต่อทุน พสวท. ว่า จะตั้งใจศึกษาเล่าเรียนอย่างเต็มความสามารถ และยินยอมปฏิบัติตามระเบียบ หลักเกณฑ์และข้อบังคับของทุน พสวท. ที่มีอยู่แล้วหรือที่จะมีต่อไปโดยเคร่งครัดทุกประการ
2 คุณสมบัติเฉพาะ 
2.1 คุณสมบัติสาหรับนักเรียนทุน พสวท. 
1) เป็นนักเรียนทุน พสวท. ที่ศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2567
2) มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) รวม 4 ภาคการศึกษา (ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-5)
ไม่น้อยกว่า 3.00
3) มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 3.25
2.2 คุณสมบัติสาหรับนักเรียนโครงการห้องเรียน พสวท. (สู่ความเป็นเลิศ) หรือนักเรียนที่มีศักยภาพสูงในด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ในสถานศึกษาทั่วประเทศ 
1) เป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ปีการศึกษา 2567
2) มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) รวม 4 ภาคการศึกษา (ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-5)
ไม่น้อยกว่า 3.00
3) มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 
ไม่น้อยกว่า 3.25
4) เป็นนักเรียนที่เคยผ่านการอบรม สอวน. ค่าย 2 ขึ้นไป
หรือ เป็นผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันฟิสิกส์สัประยุทธ์ระดับนานาชาติ (IYPT)
หรือ เป็นผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมกิจกรรมการประชุมนานาชาตินักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ (ICYS)
หรือ เป็นผู้ที่มีผลงานเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ เป็นที่ประจักษ์ในระดับ
ภูมิภาค ระดับประเทศ หรือระดับนานาชาติ
 
สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ
ผู้ที่ได้รับการคัดเลือก จะได้รับทุนสนับสนุนการศึกษาตามรายละเอียดและเงื่อนไข ของผู้ได้รับทุนในโครงการ พสวท. โดยรวมถึง ค่าธรรมเนียมการศึกษา ค่าหนังสืออ่านประกอบ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ค่าใช้จ่ายส่วนตัว ตลอดจนการสนับสนุนการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาตนเอง การไปทำวิจัย และการเสนอผลงานทางวิชาการ
 
 

 แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ประกอบด้วย

  • ประวัติส่วนตัวที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถหรือเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์อย่างชัดเจน   สามารถจัดรูปแบบได้อย่างอิสระ จะใช้รูปแบบตัวอักษรแบบใดขนาดใดก็ได้ ต้องไม่เกิน 10 หน้า (ไม่รวม หน้าปก คำนำ สารบัญ)
  • หนังสือรับรองการเป็นนักเรียนทุน พสวท.
    หรือ  หนังสือรับรองการเป็นนักเรียนโครงการห้องเรียน พสวท. (สู่ความเป็นเลิศ) 
  • ประกาศนียบัตร/เกียรติบัตร  การเข้าร่วมอบรม สอวน. ค่าย 2 ขึ้นไป
    หรือ เป็นผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันฟิสิกส์สัประยุทธ์ระดับนานาชาติ (IYPT)
    หรือ เป็นผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมกิจกรรมการประชุมนานาชาตินักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ (ICYS)
    หรือ เป็นผู้ได้รับรางวัลการประกวดโครงงานระดับชาติหรือนานาชาติ เช่น งานประกวดโครงงานในโครงการ OBEC AWARDS, งาน Intel International Science and Engineering Fair (INTEL ISEF) เป็นต้น

ผู้ที่ได้รับการคัดเลือก จะได้รับทุนสนับสนุนการศึกษาตามรายละเอียดและเงื่อนไข ของผู้ได้รับทุนในโครงการ พสวท. โดยรวมถึง ค่าธรรมเนียมการศึกษา ค่าหนังสืออ่านประกอบ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ค่าใช้จ่ายส่วนตัว ตลอดจนการสนับสนุนการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาตนเอง การไปทำวิจัย และการเสนอผลงานทางวิชาการ

14 คน
2 โครงการรับนักเรียนจากค่ายโอลิมปิกวิชาการ
รหัส: แบบ 1.1

1 สาขาเคมี สาขาเคมีอุตสาหกรรม และสาขาชีวเคมีและชีวเคมีนวัตกรรม จำนวนรับ  4 คน
2 สาขาชีววิทยา สาขาจุลชีววิทยา และสาขาสัตววิทยา จำนวนรับ  4 คน
3 สาขาฟิสิกส์ และสาขาวัสดุศาสตร์ จำนวนรับ  4 คน
4 สาขาธรณีวิทยา จำนวนรับ  2 คน
5 สาขาอัญมณีวิทยา จำนวนรับ  2 คน
6 สาขาคณิตศาสตร์ และสาขาสถิติ จำนวนรับ  4 คน
7 สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จำนวนรับ  4 คน
8 สาขาวิทยาการข้อมูล จำนวนรับ  2 คน
9 สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ) จำนวนรับ  2 คน

 คุณสมบัติของผู้สมัคร

1. เป็นผู้ที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ กลุ่มวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
2. มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPA) รวม 5 ภาคการศึกษา ไม่น้อยกว่า 3.00 
    (กรณีสมัครสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มีผลการเรียนเฉลี่ยวิชาภาษาอังกฤษ 5 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.50 หรือ มีผลภาษาอังกฤษ IELTS: 5.0 , TOEFL (PBT/ITP:500 , CBT: 173 , IBT:61) หรือ TOEIC:600)
3. เป็นผู้ที่เคยผ่านการอบรมค่ายโอลิมปิกวิชาการ ระดับมัธยมปลาย ค่าย 1 จากศูนย์ สอวน. ศูนย์ใดศูนย์หนึ่งทั่วประเทศ
    หรือ เป็นผู้ที่เป็นตัวแทนประเทศไทยในการเข้าร่วมค่าย หรือการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระดับนานาชาติในด้านต่าง ๆ 

 

แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ประกอบด้วย

  •  ประวัติส่วนตัวที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถหรือเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์อย่างชัดเจนประกาศนียบัตร/เกียรติบัตร ผลงานและความสามารถที่สอดคล้องตามคุณสมบัติที่แต่ละโครงการกำหนด
  • สามารถจัดรูปแบบได้อย่างอิสระ จะใช้รูปแบบตัวอักษรแบบใดขนาดใดก็ได้ ต้องไม่เกิน 10 หน้า

สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ

 ผู้ที่ได้รับการคัดเลือก 4 อันดับแรก จะได้รับทุนการศึกษา ปีละ 60,000 บาท ต่อเนื่องจนครบระยะเวลาของหลักสูตร (4 ปี) และไม่มีข้อผูกมัดใดๆ หลังสำเร็จการศึกษา 

28 คน
3 โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพสำหรับเด็กและเยาวชน (ร่วมกับ สวทช.)
รหัส: แบบ 1.1

1 สาขาเคมี สาขาเคมีอุตสาหกรรม และสาขาชีวเคมีและชีวเคมีนวัตกรรม จำนวนรับ  2 คน
2 สาขาชีววิทยา สาขาจุลชีววิทยา และสาขาสัตววิทยา จำนวนรับ  2 คน
3 สาขาฟิสิกส์ และสาขาวัสดุศาสตร์ จำนวนรับ  2 คน
4 สาขาธรณีวิทยา จำนวนรับ  1 คน
5 สาขาอัญมณีวิทยา จำนวนรับ  1 คน
6 สาขาคณิตศาสตร์ และสาขาสถิติ จำนวนรับ  1 คน
7 สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จำนวนรับ  1 คน
8 สาขาวิทยาการข้อมูล จำนวนรับ  1 คน
9 สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ) จำนวนรับ  1 คน

  คุณสมบัติของผู้สมัคร 

1. เป็นผู้ที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ กลุ่มวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
2. มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPA) รวม 5 ภาคการศึกษา ไม่น้อยกว่า 3.00
    (กรณีสมัครสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มีผลการเรียนเฉลี่ยวิชาภาษาอังกฤษ 5 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.50 หรือ มีผลภาษาอังกฤษ IELTS: 5.0 , TOEFL (PBT/ITP:500 , CBT: 173 , IBT:61) 
หรือ TOEIC:600)
3. เป็นผู้ไดัรับทุนหรือเคยเข้าร่วมในโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพสำหรับเด็กและเยาวชน (JSTP) ซึ่งจัดโดย สวทช. หรือโครงการอื่น ๆ ของ สวทช. ที่มีการดำเนินการในลักษณะเดียวกัน

แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ประกอบด้วย

  • ประวัติส่วนตัวที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถหรือเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์อย่างชัดเจนประกาศนียบัตร/เกียรติบัตร ผลงานและความสามารถที่สอดคล้องตามคุณสมบัติที่แต่ละโครงการกำหนด
  • สามารถจัดรูปแบบได้อย่างอิสระ จะใช้รูปแบบตัวอักษรแบบใดขนาดใดก็ได้ ต้องไม่เกิน 10 หน้า

สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ

ผู้ที่ได้รับการคัดเลือก จะได้รับทุนสนับสนุนการศึกษาและการวิจัยตามรายละเอียดและเงื่อนไขที่กำหนดสำหรับผู้รับทุนในโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพสำหรับเด็กและเยาวชน (JSTP) เพื่อศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย หรือโครงการอื่นๆ ของ สวทช. ในลักษณะเดียวกัน

13 คน
4 โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนฯ (วมว.)
รหัส: แบบ 1.1

  สาขาเคมี สาขาเคมีอุตสาหกรรม และสาขาชีวเคมีและชีวเคมีนวัตกรรม จำนวนรับ  2 คน
  สาขาชีววิทยา สาขาจุลชีววิทยา และสาขาสัตววิทยา จำนวนรับ  2 คน
  สาขาฟิสิกส์ และสาขาวัสดุศาสตร์ จำนวนรับ  2 คน
  สาขาธรณีวิทยา จำนวนรับ  2 คน
  สาขาอัญมณีวิทยา จำนวนรับ  2 คน
  สาขาคณิตศาสตร์ และสาขาสถิติ จำนวนรับ  2 คน
  สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จำนวนรับ  2 คน
  สาขาวิทยาการข้อมูล จำนวนรับ  2 คน
  สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ) จำนวนรับ  2 คน

คุณสมบัติของผู้สมัคร

1.  เป็นผู้ที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ กลุ่มวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์

2.  มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) รวม 5 ภาคการศึกษา ไม่น้อยกว่า 3.00

     (กรณีสมัครสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มีผลการเรียนเฉลี่ยวิชาภาษาอังกฤษ 5 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.50 หรือ มีผลภาษาอังกฤษ IELTS: 5.0 , TOEFL (PBT/ITP:500 , CBT: 173 , IBT:61) 

หรือ TOEIC:600)

3.  เป็นนักเรียนจากโครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์โรงเรียน โดยการกำกับดูแลของ

มหาวิทยาลัย ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (วมว.) และยังคงสภาพเป็นนักเรียนในโครงการ วมว. จนสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยศึกษาอยู่ในโรงเรียนต่อไปนี้

      1. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่

      2. โรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์ จ.สงขลา

      3. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จ.ปัตตานี

      4. โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย จ.นครราชสีมา

      5. โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก

      6. โรงเรียนดรุณสิกขาลัย จ.กรุงเทพมหานคร

      7. โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี

      8. โรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม จ.พัทลุง

      9. โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม

      10. โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์) จ.ขอนแก่น

      11. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) จ.มหาสารคาม

      12. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา จ.พะเยา

      13. โรงเรียนลือคำหาญวารินชำราบ จ.อุบลราชธานี

      14. โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต จ.กรุงเทพมหานคร

      15. โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย จ.กรุงเทพมหานคร

      16. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (มอดินแดง) จ.ขอนแก่น

      17. โรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์ สุราษฏร์ธานี จ.สุราษฏร์ธานี

      18. โรงเรียนสุรวิวัฒน์ จ.นครราชสีมา

      19. โรงเรียนสาธิตวิทยาการอิสลาม ม.อ. จ.ปัตตานี

 

 

แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ประกอบด้วย

 

  • ประวัติส่วนตัวที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถหรือเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์อย่างชัดเจนประกาศนียบัตร/เกียรติบัตร ผลงานและความสามารถที่สอดคล้องตามคุณสมบัติที่แต่ละโครงการกำหนด
  • สามารถจัดรูปแบบได้อย่างอิสระ จะใช้รูปแบบตัวอักษรแบบใดขนาดใดก็ได้ ต้องไม่เกิน 10 หน้า

 -

10 คน
5 โครงการรับผู้มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์
รหัส: แบบ 1.1

ให้เลือกเรียนในสาขาวิชาคณิตศาสตร์

 คุณสมบัติของผู้สมัคร 

1.  เป็นผู้ที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ กลุ่มวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
2.  มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) รวม 5 ภาคการศึกษา ไม่น้อยกว่า 3.50
 3.  มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมกลุ่มสาระวิชาวิทยาศาสตร์และวิชาคณิตศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 4.00
 4.  เป็นผู้ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนานักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์ ภาคเหนือ  
      (Northern Gifted Math) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในปีการศึกษา 2565 และระดับชั้น       
      มัธยมศึกษาปีที่ 5 ในปีการศึกษา 2566

 

แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ประกอบด้วย

  • ประวัติส่วนตัวที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถหรือเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์อย่างชัดเจนประกาศนียบัตร/เกียรติบัตร ผลงานและความสามารถที่สอดคล้องตามคุณสมบัติที่แต่ละโครงการกำหนด
  • สามารถจัดรูปแบบได้อย่างอิสระ จะใช้รูปแบบตัวอักษรแบบใดขนาดใดก็ได้ ต้องไม่เกิน 10 หน้า

 

สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ
ผู้ที่ได้รับคัดเลือก จะได้รับทุนการศึกษา ปีละ 36,000 บาท ต่อเนื่องจนครบระยะเวลาของหลักสูตร (4 ปี) และไม่มีข้อผูกมัดใดๆ หลังสำเร็จการศึกษา 

1 คน
6 โครงการรับผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รหัส: แบบ 1.1

ให้เลือกเรียนในสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

 คุณสมบัติของผู้สมัคร 

1. เป็นผู้ที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ กลุ่มวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
2. มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPA) รวม 5 ภาคการศึกษา ไม่น้อยกว่า 3.00
3. มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมกลุ่มสาระวิชาวิทยาศาสตร์และวิชาคณิตศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 3.00
4. เป็นผู้ผ่านโครงการตามเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่ง ดังต่อไปนี้
   4.1. เป็นผู้ที่เรียนในห้องเรียนพิเศษ (หรือ วมว.) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ หรือ สาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
   4.2. เป็นผู้ที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายหรือรอบชิงชนะเลิศของการประกวดโครงการ หรือแข่งขันเขียนโปรแกรมในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ดังตัวอย่างโครงการแข่งขันหรือการประกวดต่อไปนี้ 
       - โครงการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย (NSC)
       - โครงการประกวดโครงงานนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ (YSC.CS & YSC.EN)
       - โครงงานที่เกี่ยวข้องทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอื่น ๆ
4.3. เป็นผู้ได้รับรางวัลจากการแข่งขันเขียนโปรแกรมระดับมัธยมศึกษาตอนปลายระดับภูมิภาค เช่น CSCMU Coding Challenge หรือ iCode Programming Contest
4.4. เป็นผู้ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมอบรมต่าง ๆ ที่จัดโดยภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เช่น โครงการ Young Computer Scientist, โครงการ CSCMU Tech Talk
 
การพิจารณาขึ้นอยู่คุณสมบัติของผู้สมัครและดุลยพินิจของคณะกรรมการ 
 
 

 

 แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ประกอบด้วย

  • ประวัติส่วนตัวที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถหรือเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์อย่างชัดเจน  สามารถจัดรูปแบบได้อย่างอิสระ จะใช้รูปแบบตัวอักษรแบบใดขนาดใดก็ได้ ต้องไม่เกิน 10 หน้า (ไม่รวม หน้าปก คำนำ สารบัญ)
  • ประกาศนียบัตร/เกียรติบัตร ผลงานและความสามารถที่สอดคล้องตามคุณสมบัติที่โครงการกำหนด

 

สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ

ผู้ที่ได้รับคัดเลือก มีสิทธิได้รับการพิจารณาเพื่อรับทุนการศึกษา จำนวน 2 ทุน ทุนละ 18,000 บาทต่อปี ต่อเนื่องจนครบระยะเวลาของหลักสูตร (4 ปี) และไม่มีข้อผูกมัดใด ๆ หลังสำเร็จการศึกษา

 

10 คน
7 โครงการรับผู้มีความสามารถพิเศษทางวัสดุศาสตร์
รหัส: แบบ 1.1

ให้เลือกเรียนในสาขาวิชาวัสดุศาสตร์

คุณสมบัติของผู้สมัคร

1.  เป็นผู้ที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ กลุ่มวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
2.  มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) รวม 5 ภาคการศึกษา ไม่น้อยกว่า 2.75
3.  มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมกลุ่มสาระวิชาวิทยาศาสตร์และวิชาคณิตศาสตร์ รวม 5 ภาค   
     การศึกษา ไม่น้อยกว่า 2.75
4.  เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
     4.1 เคยเข้าร่วมโครงการอบรมวัสดุศาสตร์เพื่อนวัตกรรมและอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่จัดโดย 
           สาขาวิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ค่ายวิทยาศาสตร์ หรือ
           ค่ายวิชาการทางวัสดุศาสตร์ที่จัดโดยสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ 
     4.2 เป็นผู้ผ่านการประกวดแข่งขันนวัตกรรมทางด้านวัสดุศาสตร์ ที่จัดโดยสาขาวิชาวัสดุศาสตร์ 
           คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ด้วยระดับการประเมินดีเด่นหรือดีเยี่ยม 
           หรือเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตามข้อ 1 และ 2 ที่เป็นผู้ผ่านการประเมินการสอบประเมินความรู้ทาง
           วัสดุศาสตร์ที่จัดโดยสาขาวิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ด้วยระดับ 
           การประเมินดีเยี่ยม (โดยไม่จำเป็นต้องมีคุณสมบัติตามข้อ 3 และ 4)

 

 

แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ประกอบด้วย

  • ประวัติส่วนตัวที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถหรือเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์อย่างชัดเจนประกาศนียบัตร/เกียรติบัตร ผลงานและความสามารถที่สอดคล้องตามคุณสมบัติที่แต่ละโครงการกำหนด
  • สามารถจัดรูปแบบได้อย่างอิสระ จะใช้รูปแบบตัวอักษรแบบใดขนาดใดก็ได้ ต้องไม่เกิน 10 หน้า

 

25 คน
8 โครงการสานฝันปั้นนักวิทยาศาสตร์
รหัส: แบบ 1.1

1 สาขาเคมี สาขาเคมีอุตสาหกรรม และสาขาชีวเคมีและชีวเคมีนวัตกรรม จำนวนรับ  15 คน
2 สาขาชีววิทยา สาขาจุลชีววิทยา และสาขาสัตววิทยา จำนวนรับ  15 คน
3 สาขาฟิสิกส์ และสาขาวัสดุศาสตร์ จำนวนรับ  10 คน
4 สาขาธรณีวิทยา จำนวนรับ  5 คน
5 สาขาอัญมณีวิทยา จำนวนรับ  5 คน
6 สาขาคณิตศาสตร์ และสาขาสถิติ จำนวนรับ  10 คน
7 สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จำนวนรับ  5 คน
8 สาขาวิทยาการข้อมูล จำนวนรับ  5 คน
9 สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ) จำนวนรับ  1 คน

คุณสมบัติของผู้สมัคร

1.  เป็นผู้ที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ กลุ่มวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
2.  มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPA) รวม 5 ภาคการศึกษา ไม่น้อยกว่า 2.75
    (กรณีสมัครสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มีผลการเรียนเฉลี่ยวิชาภาษาอังกฤษ 5 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.50 หรือ มีผลภาษาอังกฤษ IELTS: 5.0 , TOEFL (PBT/ITP:500 , CBT: 173 , IBT:61) หรือ TOEIC:600)

3.  มีคุณสมบัติตามเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  • ผ่านการเข้าร่วมโครงการค่ายค้นฝันปั้นนักวิทย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ผ่านการเข้าร่วมโครงการค่ายต้นกล้าท้าหมอกควัน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมการอบรมโครงงานวิทยาศาสตร์ Data Science Project ของสาขาวิทยาการข้อมูล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ได้รับรางวัลจากการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับภูมิภาคหรือระดับชาติ
  • ได้รับรางวัลจากการแข่งขันความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอื่น ๆ เช่น การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การสร้างหุ่นยนต์  การตอบปัญหาทางวิทยาศาสตร์ และการแข่งขันทักษะ  กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ฯลฯ จากการแข่งขันในระดับภูมิภาค หรือระดับชาติ
  • ผ่านการเข้าร่วมโครงการค่ายวิทยาศาสตร์ หรือ กิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ อื่น ๆ ของหน่วยงานที่ได้รับการยอมรับ เช่น สถาบันอุดมศึกษาสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นต้น

 

แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ประกอบด้วย
  • ประวัติส่วนตัวที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถหรือเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์อย่างชัดเจน  สามารถจัดรูปแบบได้อย่างอิสระ ต้องไม่เกิน 10 หน้า (ไม่รวม หน้าปก คำนำ สารบัญ)
  • ประกาศนียบัตร/เกียรติบัตร ผลงานและความสามารถที่สอดคล้องตามคุณสมบัติที่โครงการกำหนด

 

-

71 คน
9 โครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.)
รหัส: แบบ 1.2

จำนวนรับ 7 คน จำแนกตามสาขาดังนี้

1.  สาขาวิชาคณิตศาสตร์   2 คน
2.  สาขาวิชาฟิสิกส์ 2 คน
3.  สาขาวิชาเคมี 2 คน
4.  สาขาชีววิทยา 2 คน
5.  สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ 2 คน

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัคร

1. คุณสมบัติทั่วไป

1) มีสัญชาติไทย

2) มีอายุไม่เกิน 20 ปี นับถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2568

3) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

4) เป็นผู้มีความประพฤติดี

5) มีสุขภาพแข็งแรง และเป็นผู้ที่ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง หรือเป็นโรคที่สังคมรังเกียจ หรือโรคสำคัญ

ที่จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา

6) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

7) ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีสำหรับการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา

2. คุณสมบัติเฉพาะ

1) เป็นผู้กำลังศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษา 2567 โดยมีคะแนนผลการเรียนรวม 5 ภาคการศึกษา นับตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ดังนี้

- ผลการเรียนเฉลี่ยทุกวิชารวมกัน ไม่น้อยกว่า 3.00

- ผลการเรียนเฉลี่ยวิชาวิทยาศาสตร์และวิชาคณิตศาสตร์รวมกัน  ไม่น้อยกว่า 3.25

2) เป็นผู้มีผลคะแนนสอบทางวิชาการ โดยสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย(ทปอ.) เป็นผู้จัดสอบ  ในวิชาความถนัดทั่วไป (TGAT) ครบทั้ง 3 สวน และวิชาความถนัดทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ (TPAT3) 

3) มีผลงานที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถทางวิชาการหรือมีประสบการณเข้าร่วมกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ในระดับภูมิภาค ระดับชาติหรือระดับนานาชาติ หรือมีผลงานการเข้าร่วมกิจกรรมด้านอื่นที่เกี่ยวข้องซึ่งสะท้อนให้เห็นว่านักเรียนเป็นบุคคลที่มีความรอบรู้และมีส่วนร่วมกับชุมชน

4. การสมัครเข้ารับการคัดเลือก

ผู้มีคุณสมบัติตามข้อ 3 สามารถสมัครเพื่อรับการคัดเลือกทุนโครงการ สควค. ระดับปริญญาตรี-โท ประจำปีการศึกษา 2568 ผ่านระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (TCAS) 2568 หรือสมัครเพื่อรับการคัดเลือกโครงการ สควค. ตามรายละเอียดที่ระบุในประกาศของสถาบันผลิตระดับปริญญาตรี ทั้ง 10 แห่งข้างต้น โดยถือเป็นหน้าที่รับผิดชอบของนักเรียน ในการสมัครและเข้ารับการทดสอบ รวมถึงติดตามและปฏิบัติตามประกาศต่าง ๆ ของสถาบันผลิตอย่างใกล้ชิด

 

5. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิรับทุน

5.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปการศึกษา 2567 ด้วยคะแนนผลการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ดังนี้

1) ผลการเรียนเฉลี่ยทุกวิชารวมกัน ไม่น้อยกว่า 3.00

2) ผลการเรียนเฉลี่ยวิชาวิทยาศาสตร์และวิชาคณิตศาสตร์รวมกัน ไม่น้อยกว่า 3.25

5.2 เป็นผู้มีผลคะแนนสอบทางวิชาการ โดยสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เป็นผู้จัดสอบ ดังนี้

1) วิชาความถนัดทั่วไป (TGAT) ครบทั้ง 3 ส่วน 

- การสื่อสารภาษาอังกฤษ (TGAT1) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25

- การคิดอย่างมีเหตุผล (TGAT2) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25

- สมรรถนะการทำงาน (TGAT3) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25

2) วิชาความถนัดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ (TPAT3) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 35

5.3 เป็นผู้ได้รับการประกาศรายชื่อผูผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในคณะวิทยาศาสตร์ประจำปีการศึกษา 2568 ของสถาบันผลิต หลักสูตรและสาขาวิชา ตามข้อ 1

5.4 ไม่เป็นผู้ที่อยู่ระหว่างการรับทุนอื่นที่มีภาระผูกพันอันส่งผลกระทบต่อการสำเร็จการศึกษาตามแผนการศึกษาของหลักสูตรที่เข้าศึกษาหรือการบรรจุเข้าปฏิบัติงานชดใชทุน

5.5 ไม่เป็นผู้ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยด้วยโรคทางจิตเวชอันอาจเป็นอันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่นหรืออาจเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาหรือการปฏิบัติงานวิชาชีพครู

เมื่อผู้มีสิทธิรับทุนดำเนินการทำสัญญาทุนการศึกษาครบถ้วนตามขั้นตอนและมีสถานะเป็นผู้รับทุนโครงการ สควค. ระยะที่ 4 จะได้รับทุนการศึกษาตามการเบิกจ่ายโดยสถาบันหรือคณะของหลักสูตรที่กำลังศึกษาภายใต้เงื่อนไขทุนขณะศึกษาของโครงการ สควค.   

แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ประกอบด้วย
  • ประวัติส่วนตัวที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถหรือเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์อย่างชัดเจนประกาศนียบัตร/เกียรติบัตร ผลงานและความสามารถที่สอดคล้องตามคุณสมบัติที่แต่ละโครงการกำหนด
  • สามารถจัดรูปแบบได้อย่างอิสระ จะใช้รูปแบบตัวอักษรแบบใดขนาดใดก็ได้ ต้องไม่เกิน 10 หน้า

  ผู้ที่ได้รับการคัดเลือก จะได้รับทุนสนับสนุนการศึกษาตามรายละเอียดและเงื่อนไข ของผู้ได้รับทุนในโครงการ สควค. โดยรวมถึง ค่าธรรมเนียมการศึกษา ค่าหนังสืออ่านประกอบ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ค่าใช้จ่ายส่วนตัว ตลอดจนการสนับสนุนการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาตนเอง การไปทำวิจัย และการเสนอผลงานทางวิชาการ

 

10 คน
10 โครงการรับผู้มีความสามารถพิเศษทางฟิสิกส์และดาราศาสตร์
รหัส: แบบ 1.1

ศึกษาในสาขาวิชาฟิสิกส์ จำนวน 20 คน

 

คุณสมบัติของผู้สมัคร
๑.  เป็นผู้ที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ สายสามัญ กลุ่มวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
2.  มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPA) รวม ๕ ภาคการศึกษา ไม่น้อยกว่า 2.75
3.  มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมกลุ่มสาระวิชาวิทยาศาสตร์และวิชาคณิตศาสตร์ รวม ๕ ภาคการศึกษา ไม่น้อยกว่า ๓.๐๐
4.  เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ 
4.1 เคยผ่านการอบรมค่ายโอลิมปิกวิชาการ สาขาฟิสิกส์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ค่ายที่ 1 จากศูนย์ สอวน. ศูนย์ใดศูนย์หนึ่งทั่วประเทศ
4.2 เคยผ่านการอบรมค่ายโอลิมปิกวิชาการ สาขาดาราศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ค่ายที่ 2 จากศูนย์ สอวน. ศูนย์ใดศูนย์หนึ่งทั่วประเทศ
4.3 เคยเป็นตัวแทนของโรงเรียนเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันฟิสิกส์สัประยุทธ์ในระดับภูมิภาค ภายใต้โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
4.4 ผ่านการรับรองของภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยผ่านการเข้าร่วมโครงการอบรมวิทยาศาสตร์ ค่ายวิทยาศาสตร์ หรือกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ หรือหน่วยงานที่ได้รับการยอมรับเชิงวิชาการ เช่น สถาบันอุดมศึกษา สถาบันวิจัย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นต้น 

แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ประกอบด้วย

  •  ประวัติส่วนตัวที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถหรือเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์อย่างชัดเจนประกาศนียบัตร/เกียรติบัตร ผลงานและความสามารถที่สอดคล้องตามคุณสมบัติที่แต่ละโครงการกำหนด
  • สามารถจัดรูปแบบได้อย่างอิสระ จะใช้รูปแบบตัวอักษรแบบใดขนาดใดก็ได้ ต้องไม่เกิน 10 หน้า

ไม่มี

20 คน







Contact Us

งานบริการการศึกษาและพัฒนาคุณภาพนักศึกษา
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
239 ถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200

โทรศัพท์ : 053-943315, 053-943316

© Copyright 2021 All rights reserved.